ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของทางภาคเหนือ แต่ความต้องการนอกฤดูกาลยังสูงมาก ทำให้ในปี 2541 มีการค้นพบสารโพแทสเซียมคลอเรต ที่สามารถทำให้ลำไยออกดอกนอกฤดูกาลได้ โดยช่างทำดอกไม้ไฟไม่ต้องอาศัยอากาศหนาวเย็นก็สามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ สามารถปลูกได้ทั่วไปเกือบทุกภาคของประเทศ ทำให้มีการขยายพื้นที่การปลูกอย่างมากในภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกในอำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งผลิตลำไยนอกฤดูเท่านั้น สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรเจ้าของสวนเป็นกอบเป็นกำกว่าไม้ผลดั่งเดิมของจังหวัด ไม่มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตเหมือนกับลำไยในจังหวัดอื่น ๆ ที่มีปัญหาบางปีลำไยให้ผลผลิตมาก ผลผลิตล้นตลาด ราคาถูก ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการผลิต
เทคนิคและการบริหารจัดการลำไยนอกฤดู
พันธุ์ลำไยเป็นพันธุ์อีดอทั้งหมด
พื้นที่ปลูกทั้งหมด 70 ไร่
ระยะปลูก 10x10
เมตร
ในส่วนของการบริหารจัดการการผลิตลำไยให้ประสบความสำเร็จจะต้องเอาการตลาดเป็นตัวนำกาผลิต เพราะเมื่อผลผลิตออกจะตรงกับความต้องการของตลาดและราคาจะสูง โดยในสวนจะแบ่งการผลิตออกเป็น 4 ส่วน
ๆ ละ 200-300 ต้น ตามเทศกาลของประเทศจีนเป็นหลัก และลดความเสี่ยง คือ
ช่วงที่ 1 ให้สารเดือนมีนาคม เก็บผลผลิตเดือนกันยายน ตรงกับวันชาติจีน
ช่วงที่ 2 ให้สารเดือนเมษายน เก็บผลผลิตเดือนธันวาคม เทศกาลปีใหม่สากล
ช่วงที่ 3 ให้สารเดือนมิถุนายน เก็บผลผลิตเดือนมกราคม ก่อนเทศกาลตรุษจีน
ช่วงที่ 4 ให้สารเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เก็บผลผลิตเดือนมีนาคม วันเชงเม้ง
นอกจากการใช้ตลาดเป็นตัวนำแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอและความสมบูรณ์ของต้นลำไยและการแบ่งทำเป็นรุ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของราคา
บริษัท แอล วาย ซี
รวมผล จำกัด : ผู้รวบรวม
ขอบคุณที่มา
https://researchex.mju.ac.th/agikl/index.php/knowledge/25-fruit/179-longan53
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น