ลำไยในฤดูกาล เป็นอย่างไร

 

ลําไย ชื่อสามัญ Longan (ลองแกน) (มักเขียนผิดเป็น “ลําใย“) ลําไย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dimocarpus longan Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Euphoria longan (Lour.) Steud.) จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE) ผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดนี้เป็นที่นิยมรับประทานอย่างมากในบ้านเรา โดยจังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือจังหวัดลําพูน  สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูกลำไยในฤดูกาล

ดิน

ที่ลําไยชอบมาก คือดิน ร่วนปนทราย และดินตะกอน ซึ่งเกิดจากตะกอนกรวด หิน ดิน ทราย อินทรีย์วัตถุที่น้ำพัดพามา เกิดการทับถมของอินทรีย์วัตถุซึ่งจะสังเกตได้จากต้นลําไยที่ปลูกตามที่ราบลุ่มแม่น้ําปิง ในเขตจังหวัด เชียงใหม่ ลําพูน เจริญงอกงามและให้ผลผลิตดีดินที่ปลูกลําไยควรมีหน้าดินลึก การระบายน้ําดี สําหรับค่าของความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 6 อุณหภูมิโดยทั่วไปลําไยต้องการอากาศค่อนข้างเย็น

อุณหภูมิ

สามารถเจริญเติบโตได้อยู่ระหว่าง 4 - 30 องศาเซลเซียส และต้องการอุณหภูมิต่ํา (10 - 20 องสาเซลเซียส) ในฤดูหนาว ช่วงหนึ่งคือ ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคมเพื่อการออกดอก ซึ่งจะสังเกตว่าถ้าปีไหนอากาศหนาวเย็น นานๆ โดยไม่มีอากาศอบอุ่นเข้ามาแทรกลําไยจะมีการออกดอกติดผลดี

น้ําและความชื้น

น้ำเป็นสิ่งจําเป็นในการเจริญเติบโตของต้นลําไยในแหล่งปลูกลําไย ควรมีปริมาณ น้ําฝนอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ 1,250 มิลลิเมตรต่อปีและควรมีการกระจายตวของฝนตกประมาณ 100 - 150 วันต่อปี แต่อย่างไรก็ตามในบางช่วงลําไยต้องการน้ําน้อย คือในชวงก่อนออกดอกแต่ ในช่วงออกดอกติดผลลําไยต้องการน้ำมาก

แสง แหล่งปลูกลําไยต้องโล่งแจ้ง มีแสงแดดส่องตลอดเวลา

ในภาคเหนือโดยเฉพาะเชียงใหม่และลำพูน  ยังเป็นการผลิตลำไยในฤดู  และอาศัยปัจจัยการผลิตโดยอิงธรรมชาติแบบดังเดิมอยู่ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างน้อย

ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษาลำใยอบแห้งในฤดูกาล

สิงหาคม

ตัดแต่งกิ่ง เอากิ่งไปทำฟืน   เผาถ่าน   เอาใบคลุมในทรงพุ่ม (ให้เสร็จไม่เกิน 30 วัน)

กันยายน

แตกใบอ่อนครั้งที่ 1  เอาปุ๋ยคอกหว่านบนใบใต้ทรงพุ่ม ตามด้วยปุ๋ยเคมีตามตาราง 5.1 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยแต่ละครั้งของการแตกใบอ่อน(ในคู่มือการผลิตลำไยคุณภาพ)หรือสูตรปุ๋ยตัวหน้าสูงเช่น 46 - 0 - 0 หรือ 25 –7–7  (อัตราตามปริมาณปุ๋ยด้านหลัง)ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น  หนอนคืบกินใบ  หนอนมังกร  หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ แมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน  อัตรา  20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ตุลาคม

แตกใบอ่อนครั้งที่ 2 ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 46 - 0 - 0 หรือ 25 –7–7  (อัตราตามปริมาณปุ๋ยด้านหลัง)  ให้น้ำตาม    ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น  หนอนคืบกินใบ  หนอนมังกร หนอนหนาม   ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ แมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

พฤศจิกายน

แตกใบอ่อนครั้งที่ 3 ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 46 - 0 - 0 หรือ 25 –7–7 (อัตราตามปริมาณปุ๋ยด้านหลัง) ให้น้ำตาม ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ แมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ธันวาคม

ชักนำการออกดอก กระตุ้นการออกดอกโดยใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออกดอกของลำไย  การแตกใบอ่อน 3 ครั้งดีกว่าการแตกใบอ่อน 2 ครั้ง  อายุของใบ ฤดูหนาวอายุใบ 45 วัน ใบต้องแก่เต็มที่ สีเขียวเข้ม ฤดูฝนตั้งแต่อายุใบ 25 วันใบโตเต็มที่ มีสีเขียวอ่อน วิธีการให้สาร ทำความสะอาดภายใต้ทรงพุ่ม ให้ทางดินโดยผสมน้ำราดจากปลายทรงพุ่มเข้ามา 1 เมตร รอบทรงพุ่ม(ให้สารในตอนเช้า) ) หลังจากให้สาร 7 - 10 วัน ให้ฉีดพ่นทางใบ สาร 3 ขีด ผสมกับปุ๋ยสูตร 0 – 52 – 34 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร (ให้ฉีดพ่นตอนเย็น)  แสง วันที่ให้สารควรมีแสงแดดจัด ความบริสุทธิ์ของสาร 99.7เปอร์เซ็นต์(วิเคราะสารที่แม่โจ้ 100 บาท)อัตราการให้สาร(ตามตารางแนบท้าย)


มกราคม

ออกดอก ดูแลน้ำให้สม่ำเสมอ ไม่ต้องมาก ดูแลโรคและแมลง ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากแทงช่อดอก (ดอกยังไม่บาน)
กุมภาพันธ์ ติดผล ขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟให้ปุ๋ยเคมีตามการคาดคะเนปริมาณผลผลิต ตามตารางที่5.2 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยในระยะติดผลถึงเก็บเกี่ยว(ในคู่มือการผลิตลำไยคุณภาพ) หรือให้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูงเช่น 46 – 0 – 0 หรือ 25 – 7 – 7 แบ่งใส่เดือนละครั้ง (2 ครั้ง)ให้น้ำตามทุกครั้งและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ดูแลโรคและแมลง ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารเคมีป้องกันเชื้อรา คาร์เบนดาซิม


มีนาคม

สร้างเมล็ดและเปลือก ตัดช่อผล โดยตัดปลายช่อผลเหลือไว้ไม่เกิน 60 ผลต่อช่อ ระยะขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอเช่น 15 – 15 – 15 หรือ 16 – 16 – 16 แบ่งใส่เดือนละครั้ง แล้วให้น้ำตามทุกครั้งและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ดูแลโรคและแมลง ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารเคมีป้องกันเชื้อรา

เมษายน

เมล็ดเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ระยะสร้างเนื้อ ให้ปุ๋ยเคมีตามการคาดคะเนปริมาณผลผลิต ตามตารางที่5.2 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยในระยะติดผลถึงเก็บเกี่ยว(ในคู่มือการผลิตลำไยคุณภาพ) หรือให้ปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูง เช่น 13 - 13 – 21 หรือ 8 – 24 – 24 ให้น้ำตามและให้น้ำสม่ำเสมอ ดูแลโรคและแมลง


พฤษภาคม มิถุนายน


สร้างเนื้อและขยายผลเร็วให้ปุ๋ยเคมีตามการคาดคะเนปริมาณผลผลิต ตามตารางที่5.2 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยในระยะติดผลถึงเก็บเกี่ยว(ในคู่มือการผลิตลำไยคุณภาพ) หรือให้ปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูงเช่น 13 – 13 – 21 หรือ 8 – 24 – 24 ให้น้ำสม่ำเสมอ ดูแลโรคและแมลง เช่น เพลี้ยหอยหลังเต่า มวลลำไย ผีเสื้อมวนหวาน โรคผลลาย ผลแตก ผลร่วงให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารเคมีป้องกันเชื้อรา ทีบูโคนาโซล 25%EW


กรกฎาคม

เก็บเกี่ยวผลผลิต และสามารถนำมาทำลำไยอบแห้ง

บริษัท แอล วาย ซี รวมผล จำกัด  : ผู้รวบรวม

ขอบคุณที่มา

1. https://researchex.mju.ac.th/agikl/index.php/knowledge/25-fruit/84-longang

http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/tree_fruit/puklamyai.pdf

 

Dried longan good grade by L.Y.C Ruamphol Co., Ltd. at Lamphun, Thailand.

โทร. 081-8835337

เปิดบริการ 24 ชั่วโมง

Facebook Page : บริษัท แอล.วาย.ซี รวมผล จำกัด

บริษัท แอล.วาย.ซี รวมผล จำกัด 331 ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน 51180

🚚 แผนที่ Map : https://bit.ly/2GMoMTB

Google Business : https://lycruampholthailand.business.site?copy

ความคิดเห็น